ประวัติสาขาวิชาฯ

ปี พ.ศ. 2530 ริเริ่มจัดตั้งหลักสูตร ปวส. ปี พ.ศ. 2530 ริเริ่มจัดตั้งหลักสูตร ปวส.
ปี พ.ศ. 2533 โครงการพัฒนาบุคลากรรุ่นแรก ปี พ.ศ. 2533 โครงการพัฒนาบุคลากรรุ่นแรก
ปี พ.ศ. 2534 พัฒนาบุคลากรต่อเนื่องรุ่นที่สอง ปี พ.ศ. 2534 พัฒนาบุคลากรต่อเนื่องรุ่นที่สอง
ปี พ.ศ. 2535 ร่วมมือโครงการใจกล้า (JICA) ปี พ.ศ. 2535 ร่วมมือโครงการใจกล้า (JICA)
ปี พ.ศ. 2536 เซ็นสัญญาโครงการใจกล้า (JICA) ปี พ.ศ. 2536 เซ็นสัญญาโครงการใจกล้า (JICA)
ปี พ.ศ. 2537 สิ้นสุดแผนกวิชาช่างเครื่องมือวัดฯ ปี พ.ศ. 2537 สิ้นสุดแผนกวิชาช่างเครื่องมือวัดฯ
ปี พ.ศ. 2541 การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2541 การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี
ปี พ.ศ. 2560 รวมสาขาวิชาเป็นวิศวกรรมไฟฟ้า ปี พ.ศ. 2560 รวมสาขาวิชาเป็นวิศวกรรมไฟฟ้า

ปี พ.ศ. 2530 ริเริ่มจัดตั้งหลักสูตร ปวส.

ผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างกลปทุมวันได้มีดำริให้จัดตั้งหลักสูตรวิชาช่างเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรมในระดับปวส. ซึ่งเป็นหลักสูตรลำดับที่ 6 ของวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน (ช่างไฟฟ้ากำลัง ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ ช่างเทคนิคการผลิต และช่างเทคนิคอุตสาหกรรม) และจัดการเรียนการสอนเป็นรุ่นที่ 1 (ชก. 57)

ปี พ.ศ. 2533 โครงการพัฒนาบุคลากรรุ่นแรก

แผนกเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรมได้จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากร โดยร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อคัดเลือกเป็นนักศึกษารุ่นที่ 1 จำนวน 2 คน เพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังแล้วกลับมาเป็นอาจารย์ผู้สอนในแผนกวิชาฯ

ปี พ.ศ. 2534 พัฒนาบุคลากรต่อเนื่องรุ่นที่สอง

โครงการพัฒนาบุคลกรเพื่อรับทุนไปเรียนปริญญาตรีที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังยังคงต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 2 และมีการเริ่มเชิญอาจารย์พิเศษจากภาคเอกชนทางด้านเครื่องมือวัดเนื่องจากแผนกวิชามีอาจารย์ผู้สอนไม่เพียงพอ

ปี พ.ศ. 2535 ร่วมมือโครงการใจกล้า (JICA)

นอกเหนือจากแผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์และแผนกแมคคาทรอนิกส์ แผนกเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในสามแผนกได้รับความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่นหรือที่เรียกว่าโครงการใจกล้า (JICA)

ปี พ.ศ. 2536 เซ็นสัญญาโครงการใจกล้า (JICA)

แผนกวิชาเครื่องมือวัดและควบคุมในอุตสาหกรรมได้เซ็นสัญญาในโครงการใจกล้า (JICA) ครั้งแรก เป็นช่วงระยะเวลา 5 ปี โดยได้รับความช่วยเหลือเป็นครุภัณฑ์ และยังได้ส่งบุคลากรแลกเปลี่ยนเพื่อรับทุนไปฝึกอบรมที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในโครงการใจกล้า (JICA)

ปี พ.ศ. 2537 สิ้นสุดแผนกวิชาช่างเครื่องมือวัดฯ

เนื่องจากนโยบายของผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน โดยได้เปลี่ยนหลักสูตรใหม่เป็นระดับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) และประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ (ปวศ.) ทุกแผนกของวิทยาลัยช่างกลปทุมวัน และแผนกเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมจึงถูกปิดลงในหลักสูตรปวส.

ปี พ.ศ. 2541 การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี

ภายหลัง 5 ปี วิทยาลัยช่างกลปทุมวันยกสถานภาพเป็นสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน โดยมีพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ทำให้เกิดภาควิชาขึ้นได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และภาควิชาวิศวกรรมการวัดคุม

ปี พ.ศ. 2560 รวมสาขาวิชาเป็นวิศวกรรมไฟฟ้า

ผู้บริหารได้มีนโยบายรวมสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรมไฟฟ้า โดยจัดให้อยู่ในรูปของการบริหารหลักสูตรโดยชื่อว่าหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า โดยแบ่งเป็น 4 แขนงวิชาได้แก่ แขนงไฟฟ้ากำลัง แขนงอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม แขนงพลังงาน แขนงการวัดและควบคุม

ตราประจำสถาบันฯ

เฟือง  –   สัญลักษณ์ของช่าง
ดอกบัว  –   ชื่อของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
ฉัตร  –   ความร่มเย็นเป็นสุข คอยปกป้องสถาบันให้พ้นจากภัย
รัศมี  –   แสงสว่างแห่งความรู้นำทางไปสู่ความสำเร็จและความมีชื่อเสียงของสถาบัน
สมอ  –   นายทหารเรือผู้ก่อตั้งสถาบัน
ดาวน์โหลดตราประจำสถาบันฯ

สีประจำสถาบันฯ

RGB Standard
สีเหลือง
#FF0000
สีเลือดหมู #800000
ดาวน์โหลดสีประจำสถาบันฯ

ดอกไม้ประจำสถาบันฯ

ดอกบัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติหรือบัวหลวง

ต้นไม้ประจำสถาบันฯ

ต้นประดู่ เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความแข็งแรง ลำต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม แสดงถึงความแข็งแกร่ง ความยิ่งใหญ่ ความสมัครสมานสามัคคี ความร่วมมือร่วมใจเป็นพลังอันหนึ่งอันเดียว